วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
1.  ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
              กลไกของการเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมีอยู่   3   แบบคือ
1)  การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง (immune deficiency) ซึ่งอาจเป็นมาตั้งแต่เกิด (เช่น โรค hypogammaglobulinemia ในเด็กหรือ เกิดขึ้นในระยะหลัง (acquired) จากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด (เช่นไวรัสเอดส์)   ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ยาในกลุ่มสเตียรอยด์)  สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นบริเวณกว้างจนเกิดการทำลายไขกระดูก (เช่น ได้รับรังสีรักษา สัมผัสกับกากสารกัมมันตภาพรังสี หรือระเบิดนิวเคลียร์)  ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดตัดม้ามออก (เช่น ม้ามแตกจากอุบัติเหตุ โรคธาลัสซีเมียรุนแรงที่มีม้ามโตมากๆผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง เป็นโรคขาดอาหารรุนแรงหรือผู้สูงอายุมากๆ (extreme age)
2)  ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานมากเกินไป  (hypersensitivity reaction) ทำให้มีการตอบสนองที่รุนแรงมากผิดปกติกับสารบางอย่าง เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ โลหะ ทำให้เกิดอาการในกลุ่มของโรคภูมิแพ้ (allergic disease) เช่น แพ้อากาศ หืดหอบ ไซนัสอักเสบจากภูมิแพ้  การแพ้ยาหรือแพ้อาหารทะเล เป็นต้น  สิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้นี้ หรือที่เราเรียกว่า "allergen "
3)  ระบบภูมิคุ้มกันทำงานสับสน ไม่สามารถแยกแยะแอนติเจนของร่างกายออกจากแอนติเจนแปลกปลอม เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าจู่โจมและจะเข้าทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายทำให้เกิดเป็นโรคทางออโตอิมมูน (autoimmune) ขึ้นมาได้ ตัวอย่างของโรคได้แก่ โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไข้รูมาติก ต่อมทัยรอยด์เป็นพิษ (ชนิด Graves’ disease) หรือโรคเบาหวานที่เกิดจากการทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

2.  ปัจจจัยที่มีส่งผลต่อการเพิ่มและตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
1)  ปัจจัยทางพันธุกรรม  การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันอยู่ภายใต้การควบคุมของยีนในกลุ่ม histocompatibility antigens
2)  อายุ  เด็กเล็กและผู้สูงอายุมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันด้อยกว่าคนหนุ่มสาว  จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
3)  ปัจจัยทางเมแทโบลิก  ฮอร์โมนบางชนิด เช่น สเตียรอย์มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว ลดการสร้างแอนติบอดี  คนที่กินยาในกลุ่มสเตียรอยด์จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
4)  ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม  คนที่มีฐานะยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่าคนที่มีความเป็นอยู่ดี ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดสารอาหาร
5)  ลักษณะทางกายวิภาค  ความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อบุ เช่น ผิวหนังมีแผลพุพองอักเสบ  แผลไฟไหม้ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
6)  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเชื้อจุลชีพ  จุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพก่อโรค  ถ้าเชื้อจุลชีพประจำถิ่นถูกทำลาย เช่นได้รับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง เชื้อจุลชีพก่อโรคจะทวีจำนวนขึ้นก่อให้เกิดโรคได้
7)  ลักษณะทางสรีระ ตัวอย่างเช่น ความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร  ขนอ่อน (cilia) ที่คอยโบกพัดบริเวณผิวเยื่อบุหลอดลม  การไหลของน้ำปัสสาวะ ถ้าสิ่งที่กล่าวมาผิดปกติ เชื้อจุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น


การดูแลสุขภาพ
1. การดื่มน้ำปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำเป็นพิษ เนื่องจากเลือดเจือจาง ร่างกายจึงขับโปแตสเซียมออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุลระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ ผลที่ตามมาคือเป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง หากเกิดอาการเกร็งที่สมอง หัวใจ หรือปอด จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะหากดื่มน้ำทีละเล็กทีละน้อย แม้ดื่มมากกว่าปกติก็ไม่เป็นอันตรายเพราะไตจะขับออกมาเป็นปัสสาวะ และถ้าเมื่อไรมีอาการจุกนั่นแสดงว่าดื่มน้ำมากไป ควรหยุดได้แล้ว
 
2.
 การปล่อยให้ตนเองหิวอาจนำไปสู่โรคร้าย  เพราะความหิวกระตุ้นร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหรือเบาหวานได้ ลองควบคุมความหิวด้วยการแบ่งมื้ออาหารจากวันละ 3 มื้อเป็นมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อต่อวัน
 
3.
 ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหลัง เพราะคาเฟอีนลดการหลั่งสารเอนโดรฟีนซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้นและมีฤทธิ์ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ
 
4.
 วิธีง่ายๆในการดูแลสุขภาพคือ หลังจากตื่นนอนทุกเช้า จะดื่มน้ำส้มสายชูที่หมักจากผลแอ๊ปเปิ้ล ผสมกับน้ำผึ้งอย่างละ 1 : 1 ใส่น้ำอุ่นคนให้เข้ากันแล้วค่อยเติมน้ำแข็งลงไปเพื่อให้ทานง่ายและมีรสชาติดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะไปช่วยการดูดซึมของระบบลำไส้ และการเผาผลาญของร่างกาย แต่โรคบางโรคอาจเกิดจากสุขภาพจิตที่อ่อนแอ ในหนึ่งอาทิตย์จึงควรจะมีวันพักผ่อนอย่างจริงจังหรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพกายและลดมลภาวะทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน
 
5.
  การนอนดึกคืนวันศุกร์-เสาร์แล้วตื่นสายในวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้นาฬิกาชีวภาพของร่างกายตั้งเวลาตื่นใหม่ เมื่อถึงวันจันทร์จึงมีอาการอิดเอื้อนไม่อยากตื่น ทั้งยังทำให้ขาดสมาธิในการทำงานหรือเรียนหนังสืออีกด้วย
 
6.
 แสงแดดยามเช้าไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรงเท่านั้น แต่การออกกำลังกายกลางแดดในช่วงเวลาดังกล่าวยังช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอนโดรฟีนซึ่งเป็นสารต่อต้านอาการซึมเศร้าตามธรรมชาติอีกด้วย
 
7.
 ความเครียดเป็นตัวการทำลายผิวที่ร้ายแรงที่สุด ฉะนั้นเราต้องปรับความคิดใหม่ และใช้ร่างกายเราอย่างทะนุถนอมตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะสม หาเวลาออกกำลังกายบ้าง และรับประทานอาหารดีๆ
 
8.
 แอ๊ปเปิ้ล แตงโม กล้วย กีวี มีประโยชน์ แต่ถ้าคุณรับประทานยาปฏิชีวนะอยู่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เหล่านี้เพราะบูดง่ายในลำไส้ อาจเกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้
 
9.
 การไอเรื้อรังอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งเพื่อรักษาอาการหวัดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ให้ใช้วิธีที่สุดแสนธรรมดาแต่ได้ผลมากกว่าคือ ดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อลดเสมหะในทางเดินหายใจ อมยาอมให้ลำคอชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แค่นี้ก็หายแล้ว
 
10.
 การที่เราคิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี แถมอายุยังน้อย ทำให้เราชะล่าใจในการดูแลรักษาสุขภาพ เวลาเกิดอะไรผิดปกติขึ้นกับร่างกายจะคิดว่าช่างมัน เดี๋ยวคงหายเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง
 
11.
 เมื่อมีอาการเท้าและข้อเท้าบวมให้นั่งยองๆ ทุกวันๆ ละ 15 นาที แล้วขยับข้อเท้าไปข้างหน้าและข้างหลัง เพื่อช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น หลังจากนั้นใช้แปรงที่ขนทำจากวัสดุธรรมชาติ แปรงผิวหนังเบาๆ เริ่มบริเวณฝ่าเท้าซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย แล้วค่อยๆ ปัดไล่ขึ้นมาที่ข้อเท้า น่อง ต้นขา ท้อง แขนไปจนสุดที่มือทั้งสองข้าง (ยกเว้นผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะเสี่ยงจะเกิดบาดแผล) จากนั้นอาบน้ำอุ่นแล้วตามด้วยน้ำเย็น จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
 
12.
 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและรับประทานไข่มากกว่าอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

13.
 ผู้ที่รับประทานไข่เป็นเวลา 8 อาทิตย์ลดน้ำหนักได้มากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานถึง 65 เปอร์เซ็นต์ และรอบเอวลดลงเกือบสองเท่า เพราะผู้ที่รับประทานไข่รู้สึกอิ่มกว่าการรับประทานขนมปัง ทำให้รับประทานอาหารกลางวันและอาหารเย็นน้อยลง
 
14.
 การรับประทานอาหารไปดูหนังไปทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าจะกินอิ่มมาแล้วหรือรสชาติของอาหารไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม นอกจากนี้ไฟสลัวๆ ทำให้ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ค่อยระวังตัว เพลิดเพลินเจริญอาหารไปเรื่อย
 
15.
 เสียงเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของคนเรา ยิ่งดนตรีมีจังหวะเร็วเท่าไรก็ยิ่งกระตุ้นให้รับประทานอาหารมากขึ้นเท่านั้น
 
16.
 การดื่มน้ำ(เปล่า)เย็น 50 ออนซ์ (8 ออนซ์= 1 ถ้วย) จะช่วยเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 50 แคลอรี เท่ากับช่วยให้น้ำหนักลดลงปีละ 5 ปอนด์หรือ 2.5 กิโลกรัม เพราะการดื่มน้ำเปล่าไม่ทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน แต่ต้องใช้พลังงานในการเผาผลาญน้ำ ยิ่งไปกว่านั้นน้ำเย็นทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้นอีก
 
17.
 การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักและพิลาทิส ควบคู่กันไปจะช่วยพัฒนาความแข็งแรงของปอดและหัวใจ รวมถึงความแข็งแรงและยืดหยุ่นของโครงสร้าง และการรับประทานอาหารมื้อย่อยๆ 5 มื้อต่อวัน โดยมื้อกลางวันจะเน้นอาหารประเภทโปรตีนเพียง 1 มื้อ นอกนั้นเน้นผักและผลไม้ จะทำให้มีพลังงานที่พอเหมาะในการใช้งาน และไม่ทิ้งไขมันส่วนเกินสะสม
 
18.
 ผู้ชายที่รับประทานมะเขือเทศ ซึ่งมีไลโคปีนสูงอย่างน้อยอาทิตย์ละ 10 ผลหรือมากกว่านั้น เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลง 45 เปอร์เซ็นต์ วิธีง่ายๆ ให้นำมะเขือเทศไปปั่นให้ละเอียดเติมน้ำมันมะกอกและนำไปปรุงสุก ความร้อนจะช่วยให้มะเขือเทศปล่อยสารไลโคปีนออกมามากขึ้น
 
19.
 รับประทานแอ๊ปเปิ้ลหนึ่งชิ้นหลังอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดแบคทีเรียในช่องปากและช่วยให้เหงือกแข็งแรง การรับประทานสับปะรดและมะละกอก่อนอาหารประมาณ 2-3 ชิ้น ดีต่อกระเพาะอาหารเพราะมีเอนไซน์ซึ่งช่วยย่อย จึงเท่ากับช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่ตามลงมาได้ง่ายขึ้น
 
20.
 หากไม่อยากมีกรดในกระเพาะมากเกินไป ควรลดปริมาณการดื่มน้ำผลไม้เข้มข้น อย่างเช่นมะนาว ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุ๊ต หรือน้ำมะเขือเทศสดปั่น หรือทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำเข้าไป
 
21.
 สำหรับหนุ่มเจ้าสำราญ ที่ชอบปาร์ตี้หามรุ่งหามค่ำ ก็สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ด้วยการนอนหลับให้นานหน่อย อีกวิธีหนึ่งในการดูแลตัวเองคือมีแฟนเด็ก จะได้มีแรงกระตุ้นให้เราทำตัวเด็กตาม ต้องดูดีตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอบายมุข การเที่ยวกลางคืนก็เป็นอันต้องงด
 
22.
 การเล่นเกมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเกมส์ที่ต้องใช้สมาธิ ช่วยให้ระบบประสาททำงานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคอัลเซเมอร์ได้ เกมอื่นๆ เช่น ปริศนาอักษรไขว้ หรือเลือกเรียนดนตรี ก็ช่วยได้เช่นกัน
 
23.
 การใช้พลาสติกใส่อาหารหรือปิดอาหาร รวมถึงใส่จานชามพลาสติกในไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำให้พลาสติกปนเปื้อนในอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
 
24.
 ก่อนตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน 1.ดูแลเรื่องอาหารการกิน เน้นโฟเลต แคลเซียม วิตามินต่างๆ ป้องกันอาการแพ้ท้องหรืออยากอาหารประหลาดๆ 2.ระวังเรื่องการรับประทานยาทุกชนิด อ่านฉลากให้ดี เพราะอาจทำร้ายลูกโดยไม่เจตนา 3.ทำใจให้สบาย คิดในแง่บวก 4. ออกกำลังกายที่เหมาะสม
 
25.
 ถ้ามื้อนั้นรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก ไม่ควรรับประทานผลไม้อีก เพราะกว่าเนื้อจะย่อยหมดต้องใช้เวลานาน ทำให้ผลไม้ที่ย่อยเสร็จไปเรียบร้อยแล้วถูกกักอยู่ในกระเพาะ เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้


นางสาวฐิติกัลญา  ขันธ์ทอง  ม.4/9  เลขที่  40

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
1.  ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
              กลไกของการเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมีอยู่   3   แบบคือ
1)  การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง (immune deficiency) ซึ่งอาจเป็นมาตั้งแต่เกิด (เช่น โรค hypogammaglobulinemia ในเด็กหรือ เกิดขึ้นในระยะหลัง (acquired) จากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด (เช่นไวรัสเอดส์)   ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ยาในกลุ่มสเตียรอยด์)  สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นบริเวณกว้างจนเกิดการทำลายไขกระดูก (เช่น ได้รับรังสีรักษา สัมผัสกับกากสารกัมมันตภาพรังสี หรือระเบิดนิวเคลียร์)  ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดตัดม้ามออก (เช่น ม้ามแตกจากอุบัติเหตุ โรคธาลัสซีเมียรุนแรงที่มีม้ามโตมากๆผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง เป็นโรคขาดอาหารรุนแรงหรือผู้สูงอายุมากๆ (extreme age)
2)  ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานมากเกินไป  (hypersensitivity reaction) ทำให้มีการตอบสนองที่รุนแรงมากผิดปกติกับสารบางอย่าง เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ โลหะ ทำให้เกิดอาการในกลุ่มของโรคภูมิแพ้ (allergic disease) เช่น แพ้อากาศ หืดหอบ ไซนัสอักเสบจากภูมิแพ้  การแพ้ยาหรือแพ้อาหารทะเล เป็นต้น  สิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้นี้ หรือที่เราเรียกว่า "allergen "
3)  ระบบภูมิคุ้มกันทำงานสับสน ไม่สามารถแยกแยะแอนติเจนของร่างกายออกจากแอนติเจนแปลกปลอม เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าจู่โจมและจะเข้าทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายทำให้เกิดเป็นโรคทางออโตอิมมูน (autoimmune) ขึ้นมาได้ ตัวอย่างของโรคได้แก่ โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไข้รูมาติก ต่อมทัยรอยด์เป็นพิษ (ชนิด Graves’ disease) หรือโรคเบาหวานที่เกิดจากการทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

2.  ปัจจจัยที่มีส่งผลต่อการเพิ่มและตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
1)  ปัจจัยทางพันธุกรรม  การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันอยู่ภายใต้การควบคุมของยีนในกลุ่ม histocompatibility antigens
2)  อายุ  เด็กเล็กและผู้สูงอายุมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันด้อยกว่าคนหนุ่มสาว  จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
3)  ปัจจัยทางเมแทโบลิก  ฮอร์โมนบางชนิด เช่น สเตียรอย์มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว ลดการสร้างแอนติบอดี  คนที่กินยาในกลุ่มสเตียรอยด์จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
4)  ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม  คนที่มีฐานะยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่าคนที่มีความเป็นอยู่ดี ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดสารอาหาร
5)  ลักษณะทางกายวิภาค  ความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อบุ เช่น ผิวหนังมีแผลพุพองอักเสบ  แผลไฟไหม้ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
6)  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเชื้อจุลชีพ  จุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพก่อโรค  ถ้าเชื้อจุลชีพประจำถิ่นถูกทำลาย เช่นได้รับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง เชื้อจุลชีพก่อโรคจะทวีจำนวนขึ้นก่อให้เกิดโรคได้
7)  ลักษณะทางสรีระ ตัวอย่างเช่น ความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร  ขนอ่อน (cilia) ที่คอยโบกพัดบริเวณผิวเยื่อบุหลอดลม  การไหลของน้ำปัสสาวะ ถ้าสิ่งที่กล่าวมาผิดปกติ เชื้อจุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น


การดูแลสุขภาพ
1. การดื่มน้ำปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำเป็นพิษ เนื่องจากเลือดเจือจาง ร่างกายจึงขับโปแตสเซียมออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุลระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ ผลที่ตามมาคือเป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง หากเกิดอาการเกร็งที่สมอง หัวใจ หรือปอด จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะหากดื่มน้ำทีละเล็กทีละน้อย แม้ดื่มมากกว่าปกติก็ไม่เป็นอันตรายเพราะไตจะขับออกมาเป็นปัสสาวะ และถ้าเมื่อไรมีอาการจุกนั่นแสดงว่าดื่มน้ำมากไป ควรหยุดได้แล้ว
 
2.
 การปล่อยให้ตนเองหิวอาจนำไปสู่โรคร้าย  เพราะความหิวกระตุ้นร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหรือเบาหวานได้ ลองควบคุมความหิวด้วยการแบ่งมื้ออาหารจากวันละ 3 มื้อเป็นมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อต่อวัน
 
3.
 ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหลัง เพราะคาเฟอีนลดการหลั่งสารเอนโดรฟีนซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้นและมีฤทธิ์ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ
 
4.
 วิธีง่ายๆในการดูแลสุขภาพคือ หลังจากตื่นนอนทุกเช้า จะดื่มน้ำส้มสายชูที่หมักจากผลแอ๊ปเปิ้ล ผสมกับน้ำผึ้งอย่างละ 1 : 1 ใส่น้ำอุ่นคนให้เข้ากันแล้วค่อยเติมน้ำแข็งลงไปเพื่อให้ทานง่ายและมีรสชาติดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะไปช่วยการดูดซึมของระบบลำไส้ และการเผาผลาญของร่างกาย แต่โรคบางโรคอาจเกิดจากสุขภาพจิตที่อ่อนแอ ในหนึ่งอาทิตย์จึงควรจะมีวันพักผ่อนอย่างจริงจังหรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพกายและลดมลภาวะทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน
 
5.
  การนอนดึกคืนวันศุกร์-เสาร์แล้วตื่นสายในวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้นาฬิกาชีวภาพของร่างกายตั้งเวลาตื่นใหม่ เมื่อถึงวันจันทร์จึงมีอาการอิดเอื้อนไม่อยากตื่น ทั้งยังทำให้ขาดสมาธิในการทำงานหรือเรียนหนังสืออีกด้วย
 
6.
 แสงแดดยามเช้าไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรงเท่านั้น แต่การออกกำลังกายกลางแดดในช่วงเวลาดังกล่าวยังช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอนโดรฟีนซึ่งเป็นสารต่อต้านอาการซึมเศร้าตามธรรมชาติอีกด้วย
 
7.
 ความเครียดเป็นตัวการทำลายผิวที่ร้ายแรงที่สุด ฉะนั้นเราต้องปรับความคิดใหม่ และใช้ร่างกายเราอย่างทะนุถนอมตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะสม หาเวลาออกกำลังกายบ้าง และรับประทานอาหารดีๆ
 
8.
 แอ๊ปเปิ้ล แตงโม กล้วย กีวี มีประโยชน์ แต่ถ้าคุณรับประทานยาปฏิชีวนะอยู่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เหล่านี้เพราะบูดง่ายในลำไส้ อาจเกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้
 
9.
 การไอเรื้อรังอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งเพื่อรักษาอาการหวัดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ให้ใช้วิธีที่สุดแสนธรรมดาแต่ได้ผลมากกว่าคือ ดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อลดเสมหะในทางเดินหายใจ อมยาอมให้ลำคอชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แค่นี้ก็หายแล้ว
 
10.
 การที่เราคิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี แถมอายุยังน้อย ทำให้เราชะล่าใจในการดูแลรักษาสุขภาพ เวลาเกิดอะไรผิดปกติขึ้นกับร่างกายจะคิดว่าช่างมัน เดี๋ยวคงหายเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง
 
11.
 เมื่อมีอาการเท้าและข้อเท้าบวมให้นั่งยองๆ ทุกวันๆ ละ 15 นาที แล้วขยับข้อเท้าไปข้างหน้าและข้างหลัง เพื่อช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น หลังจากนั้นใช้แปรงที่ขนทำจากวัสดุธรรมชาติ แปรงผิวหนังเบาๆ เริ่มบริเวณฝ่าเท้าซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย แล้วค่อยๆ ปัดไล่ขึ้นมาที่ข้อเท้า น่อง ต้นขา ท้อง แขนไปจนสุดที่มือทั้งสองข้าง (ยกเว้นผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะเสี่ยงจะเกิดบาดแผล) จากนั้นอาบน้ำอุ่นแล้วตามด้วยน้ำเย็น จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
 
12.
 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและรับประทานไข่มากกว่าอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

13.
 ผู้ที่รับประทานไข่เป็นเวลา 8 อาทิตย์ลดน้ำหนักได้มากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานถึง 65 เปอร์เซ็นต์ และรอบเอวลดลงเกือบสองเท่า เพราะผู้ที่รับประทานไข่รู้สึกอิ่มกว่าการรับประทานขนมปัง ทำให้รับประทานอาหารกลางวันและอาหารเย็นน้อยลง
 
14.
 การรับประทานอาหารไปดูหนังไปทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าจะกินอิ่มมาแล้วหรือรสชาติของอาหารไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม นอกจากนี้ไฟสลัวๆ ทำให้ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ค่อยระวังตัว เพลิดเพลินเจริญอาหารไปเรื่อย
 
15.
 เสียงเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของคนเรา ยิ่งดนตรีมีจังหวะเร็วเท่าไรก็ยิ่งกระตุ้นให้รับประทานอาหารมากขึ้นเท่านั้น
 
16.
 การดื่มน้ำ(เปล่า)เย็น 50 ออนซ์ (8 ออนซ์= 1 ถ้วย) จะช่วยเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 50 แคลอรี เท่ากับช่วยให้น้ำหนักลดลงปีละ 5 ปอนด์หรือ 2.5 กิโลกรัม เพราะการดื่มน้ำเปล่าไม่ทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน แต่ต้องใช้พลังงานในการเผาผลาญน้ำ ยิ่งไปกว่านั้นน้ำเย็นทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้นอีก
 
17.
 การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักและพิลาทิส ควบคู่กันไปจะช่วยพัฒนาความแข็งแรงของปอดและหัวใจ รวมถึงความแข็งแรงและยืดหยุ่นของโครงสร้าง และการรับประทานอาหารมื้อย่อยๆ 5 มื้อต่อวัน โดยมื้อกลางวันจะเน้นอาหารประเภทโปรตีนเพียง 1 มื้อ นอกนั้นเน้นผักและผลไม้ จะทำให้มีพลังงานที่พอเหมาะในการใช้งาน และไม่ทิ้งไขมันส่วนเกินสะสม
 
18.
 ผู้ชายที่รับประทานมะเขือเทศ ซึ่งมีไลโคปีนสูงอย่างน้อยอาทิตย์ละ 10 ผลหรือมากกว่านั้น เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลง 45 เปอร์เซ็นต์ วิธีง่ายๆ ให้นำมะเขือเทศไปปั่นให้ละเอียดเติมน้ำมันมะกอกและนำไปปรุงสุก ความร้อนจะช่วยให้มะเขือเทศปล่อยสารไลโคปีนออกมามากขึ้น
 
19.
 รับประทานแอ๊ปเปิ้ลหนึ่งชิ้นหลังอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดแบคทีเรียในช่องปากและช่วยให้เหงือกแข็งแรง การรับประทานสับปะรดและมะละกอก่อนอาหารประมาณ 2-3 ชิ้น ดีต่อกระเพาะอาหารเพราะมีเอนไซน์ซึ่งช่วยย่อย จึงเท่ากับช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่ตามลงมาได้ง่ายขึ้น
 
20.
 หากไม่อยากมีกรดในกระเพาะมากเกินไป ควรลดปริมาณการดื่มน้ำผลไม้เข้มข้น อย่างเช่นมะนาว ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุ๊ต หรือน้ำมะเขือเทศสดปั่น หรือทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำเข้าไป
 
21.
 สำหรับหนุ่มเจ้าสำราญ ที่ชอบปาร์ตี้หามรุ่งหามค่ำ ก็สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ด้วยการนอนหลับให้นานหน่อย อีกวิธีหนึ่งในการดูแลตัวเองคือมีแฟนเด็ก จะได้มีแรงกระตุ้นให้เราทำตัวเด็กตาม ต้องดูดีตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอบายมุข การเที่ยวกลางคืนก็เป็นอันต้องงด
 
22.
 การเล่นเกมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเกมส์ที่ต้องใช้สมาธิ ช่วยให้ระบบประสาททำงานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคอัลเซเมอร์ได้ เกมอื่นๆ เช่น ปริศนาอักษรไขว้ หรือเลือกเรียนดนตรี ก็ช่วยได้เช่นกัน
 
23.
 การใช้พลาสติกใส่อาหารหรือปิดอาหาร รวมถึงใส่จานชามพลาสติกในไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำให้พลาสติกปนเปื้อนในอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
 
24.
 ก่อนตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน 1.ดูแลเรื่องอาหารการกิน เน้นโฟเลต แคลเซียม วิตามินต่างๆ ป้องกันอาการแพ้ท้องหรืออยากอาหารประหลาดๆ 2.ระวังเรื่องการรับประทานยาทุกชนิด อ่านฉลากให้ดี เพราะอาจทำร้ายลูกโดยไม่เจตนา 3.ทำใจให้สบาย คิดในแง่บวก 4. ออกกำลังกายที่เหมาะสม
 
25.
 ถ้ามื้อนั้นรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก ไม่ควรรับประทานผลไม้อีก เพราะกว่าเนื้อจะย่อยหมดต้องใช้เวลานาน ทำให้ผลไม้ที่ย่อยเสร็จไปเรียบร้อยแล้วถูกกักอยู่ในกระเพาะ เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้


นางสาวฐิติกัลญา  ขันธ์ทอง  ม.4/9  เลขที่  40